สรุปข้อแตกต่างระหว่างแนวปฏิบัติ พ.ศ.2536 เปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติ พ.ศ.2551
หัวข้อ แนวปฏิบัติ พ.ศ.2536 หัวข้อ แนวปฏิบัติ พ.ศ.2551 ความแตกต่าง
1.การเสนอโครงการ 1.การเสนอโครงการ  
  1.มหาวิทยาลัยจะรับงานบริการวิชาการ เฉพาะกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้ประสงค์จะรับบริการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะเดียวกันก็จะอนุญาตบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมดำเนินการโครงการบริการวิชาการก็ต่อเมื่อได้รับแจ้งเชิญและ/หรือขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประสงค์จะรับงานบริการเท่านั้น   1.มหาวิทยาลัยจะรับงานบริการวิชาการ เฉพาะกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้ประสงค์จะรับบริการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะเดียวกันก็จะอนุญาตบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมดำเนินการโครงการบริการวิชาการก็ต่อเมื่อได้รับแจ้งเชิญและ/หรือขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประสงค์จะรับงานบริการเท่านั้น ไม่มี
2. มหาวิทยาลัยจะไม่รับงาน การณีที่ไม่มีหน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าเป็นหน่วยบริหารโครงการ ดังนั้นคณะ/หน่วยงาน จะเสนอขอรับงานของหัวหน้าโครงการ จะต้องระบุหน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าเป็นหน่วยบริหารโครงการให้ชัดเจน   2. มหาวิทยาลัยจะรับงาน ที่มีหน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าเป็นหน่วยบริหารโครงการเท่านั้น โดยในการเสนอขอรับงานของหัวหน้าโครงการ จะต้องระบุหน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าเป็นหน่วยบริหารโครงการให้ชัดเจน ไม่มี
3.กรณีที่หน่วยงานมีผู้สนใจเสนอโครงการเพื่อขอรับงานเดียวกันมากกว่าหนึ่งราย ขอให้หน่วยงานพิจารณาคัดเลือกโครงการเสนอมหาวิทยาลัยเพียง 1 รายเท่านั้น มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกกรณีที่มีการเสนอมาจากหลายคณะ/หน่วยงานเท่านั้น   3.กรณีที่หน่วยงานมีผู้สนใจเสนอโครงการเพื่อขอรับงานเดียวกันมากกว่าหนึ่งราย ขอให้หน่วยงานพิจารณาคัดเลือกโครงการเสนอมหาวิทยาลัยเพียง 1 รายเท่านั้น มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกกรณีที่มีการเสนอมาจากหลายคณะ/หน่วยงานเท่านั้น ไม่มี
4. กรณีที่มีหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชน แจ้งความจำนงขอเชิญบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมดำเนินโครงการบริการวิชาการ ในลักษณะเป็นที่ปรึกษา เป็นคณะทำงานหรืออื่น ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ว่าจ้าง โครงการบริการวิชาการนั้นๆ จะไม่มีสิทธิ์ใช้ชื่อ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เป็นหน่วยงานจัดทำรายงาน แต่จะสามารถระบุชื่อมหาวิทยาลัยต่อท้ายชื่อบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับอนุมัติให้ไปร่วมดำเนินโครงการได้ในฐานะเป็นหน่วยงานต้นสังกัด   4. กรณีที่มีหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชน แจ้งความจำนงขอเชิญบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมดำเนินโครงการบริการวิชาการ ในลักษณะเป็นที่ปรึกษา เป็นคณะทำงานหรืออื่น ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ว่าจ้าง โครงการบริการวิชาการนั้นๆ จะไม่มีสิทธิ์ใช้ชื่อ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เป็นหน่วยงานจัดทำรายงาน แต่จะสามารถระบุชื่อมหาวิทยาลัยต่อท้ายชื่อบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับอนุมัติให้ไปร่วมดำเนินโครงการได้ในฐานะเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ไม่มี
5.มหาวิทยาลัยอาจจะไม่อนุญาตให้หัวหน้าโครงการซึ่งค้างส่งรายงานกับหน่วยงานว่าจ้าง ซึ่งมีหนังสือทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอโครงการขอรับดำเนินงานบริการวิชาการใหม่ จนกว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการที่ค้างส่งให้กับผู้ว่าจ้าง   5.มหาวิทยาลัยอาจจะไม่อนุญาตให้หัวหน้าโครงการซึ่งค้างส่งรายงานกับหน่วยงานว่าจ้าง ซึ่งมีหนังสือทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอโครงการขอรับดำเนินงานบริการวิชาการใหม่ จนกว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการที่ค้างส่งให้กับผู้ว่าจ้าง   ในการเสนอขอรับงานโครงการใหม่ทุกครั้ง ให้หัวหน้าโครงการสรุปรายงานจำนวนโครงการที่ดำเนินการยังไม่เสร็จ เพื่อประกอบการพิจารณา ในการเสนอขอรับงานโครงการใหม่ทุกครั้ง หัวหน้าโครงการจะต้องสรุปรายงานจำนวนโครงการที่ดำเนินการยังไม่เสร็จ เพื่อประกอบการพิจารณา (โดยมีแบบฟอร์มให้กรอก)
6.มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการตรวจสอบโครงการก่อนที่จะนำเสนอกับผู้ว่าจ้าง ดังนั้นโครงการที่นำเสนอมหาวิทยาลัยจะไม่ถือว่าเป็นความลับ ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบสูงสุด   6. การนำเสนอโครงการต่อผู้ว่าจ้าง โครงการจะต้องผ่านการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัยก่อน ไม่มี
7.การลงนามในสัญญาเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย หากประสงค์จะให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงนามแทน ให้ขออนุมัติจากมหาวิทยาลัยก่อน  มหาวิทยาลัยอาจจะระงับการลงนามในสัญญาจ้าง กรณีที่คณะหน่วยงานไม่ส่งสัญญาให้มหาวิทยาลัยตรวจสอบในระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนมีการลงนามในสัญญาจ้าง หรือมีมีการแจ้งกำหนดล่วงหน้าว่ามีการลงนามในสัญญาจ้างระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ว่าจ้าง   7.การลงนามในสัญญาเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย หากหน่วยงานประสงค์จะขอรับอำนาจไปลงนามแทน มหาวิทยาลัยจะมอบอำนาจให้เฉพาะคณบดี/หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารโครงการเท่านั้น โดยหน่วยงานจะต้องส่งสัญญาให้มหาวิทยาลัยพิจารณาก่อนลงนาม มอบอำนาจในการลงนามในสัญญาให้เฉพาะคณบดี/ผู้บริหารหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะเท่านั้น (เดิมม.มีประกาศเพิ่มเติมมาแล้ว 1460/2550)
2.การบริหารโครงการ 2.การบริหารโครงการ  (โครงการมีการลงนามในสัญญาจ้าง)
1.เมื่อลงนามในสัญญาจ้างแล้วให้ดำเนินการดังนี้ 1.1เสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะทำงานต่อมหาวิทยาลัย โดยแนบหลักฐานการได้รับความเห็นชอบบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะทำงานจากหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานภายนอกประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง (เพื่อความรวดเร็ว ควรขออนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดก่อนทำสัญญา)   1.1 เสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะทำงานต่อมหาวิทยาลัย โดยแนบหลักฐานการได้รับความเห็นชอบบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะทำงานจากหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานภายนอกประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง  
  1.2ให้คณะ/หน่วยงานเสนอขออนุมัติประมาณการค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
1.2.1 ค่าตอบแทน(ไม่เกิน 70%)
1.2.2 ค่าดำเนินการ
1.2.3 ค่าสำรองจ่าย 10% (ของข้อ 1.2.1+1.2.2)
1.2.4 ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ12%
        (ของข้อ 1.2.1+1.2.2+1.2.3)  
  1.2 เสนอและขออนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายตามระเบียบฯ ประกอบด้วย
     1.2.1 ค่าตอบแทนคณะทำงานตามข้อ 1.1 ไม่เกินร้อยละ 70 ยกเว้นกรณีที่โครงการที่ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาอย่างเดียว สามารถตั้งค่าตอบแทนได้มากกว่าร้อยละ 70 ของเงินค่าบริการที่ได้รับ
    1.2.2 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    1.2.3  ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการไม่น้อยกว่า 15% ของข้อ 1.2.1 และข้อ 1.2.2
    1.2.4  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
(เพิ่มเติม)
แนวปฏิบัติคณะฯ เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับ "ค่าใช้จ่ายอื่นๆ" ตามหนังสือที่ มอ. 208.1/ว.240 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2552
        โดยค่าธรรมเนียมตามข้อ1.2.4 จะต้องจัดสรรให้กับคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอาจแจงรายการตอนขอเสนออนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายหรือตอนขออนุมัติปิดโครงการก็ได้โดยจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบดังนี้
     1.2.4.1 ส่วนกลาง(มหาวิทยาลัย) 3% ของ 30% ของงบประมาณทั้งโครงการหรือประมาณ 1% โดยใช้เงินของงบข้อ 1.2.4 (ปัจจุบันปรับเป็น 4% ตามระเบียบเงินรายได้)
     1.2.4.2 หน่วยงานที่มีบุคลากรมาร่วมเป็นคณะทำงาน (ตามสัดส่วนค่าตอบแทน)
      1.2.4.3 หน่วยงานบริหารโครงการ (ตามสัดส่วนของค่าดำเนินการ) + สำรองจ่าย + ค่าดำเนินการที่เหลือ
       การจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการวิชาการตามข้อ 1.2.3 จะต้องจัดสรรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้แจงรายการในขั้นจอนขออนุมัติปิดโครงการ ในอัตราตามประกาศมหาวิทยาลัย ดังนี้
        - มหาวิทยาลัย ร้อยละ 1.5 ของค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของข้อ 1.2.3
        - วิทยาเขต   ร้อยละ 2.5 ของค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของข้อ 1.2.3
        - หน่วยงาน  ร้อยละ 11 ของค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของข้อ 1.2.3
     การจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการของหน่วยงานใหกับต้นสังกัดของคณะทำงานจะต้องจัดสรรเป็นสัดส่วนตามค่าตอบแทนที่คณะทำงานได้รับ
     รายได้จากการดำเนินการโครงการที่เหลือจ่ายให้ถือเป็นรายได้ของหน่วยงานบริหารโครงการ
มีการเพิ่มสัดส่วนของค่าธรรมเนียม ในส่วนของวิทยาเขต และระบุสัดส่วนของแต่หน่วยงานใหม่ (15%)
    กรณีที่โครงการไม่ได้ตั้งหรือไม่ได้รับงบประมาณข้อ 1.2.3 และ ข้อ 1.2.4 จากผู้ว่าจ้าง ให้จัดประมาณการค่าใช้จ่ายตามระเบียบโดยจะต้องเกลี่ยงบประมาณจาก ข้อ 1.2.1 ถึง ข้อ 1.2.4  โดยหลักสำคัญของข้อ 1.2.3 คือการที่จะต้องมีงบประมาณไว้ใช้แก้ปัญหาความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน และหากโครงการมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในข้อ 1.2.3 (ค่าสำรองจ่าย) ให้เสนอขออนุมัติต่อมหาวิทยาลัยหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการไปแล้วไม่น้อยกว่า 75% พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นให้ชัดเจน   ไม่มี ตามระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้บริการวิชาการ พ.ศ.2551 "การตั้งสำรองจ่ายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ"
    กรณีที่โครงการประสงค์จะบริหารงบประมาณให้ลักษณะเงินอุดหนุนและประสงค์จะถัวเฉลี่ยจ่ายค่าใช้จ่ายก็ให้งดเว้นการนำงบประมาณตามข้อ 1.2.3 และข้อ 1.2.4 มาถัวจ่ายและจะต้องระบุให้ชัดเจนในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการ เพราะการถัวจ่ายจะต้องใช้หลักฐานในการจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ ตามข้อ 1.2.4.2 และข้อ 1.2.4.3 ทั้งนี้การนำข้อ 1.2.1 มาถัวจ่ายจะต้องไม่ทำให้งบประมาณส่วนนี้มากกว่า 70% ของงบประมาณทั้งหมด และหากโครงการประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยหักค่าใช้จ่ายตามข้อ 1.2.3 และข้อ 1.2.4 ในงวดท้ายๆ ก็ให้แนบหลักฐานการแบ่งจ่ายงวดค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างประกอบการพิจารณาด้วย     กรณีที่โครงการประสงค์จะบริหารงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนและประสงค์จะถัวเฉลี่ยจ่ายค่าใช้จ่าย ก็ให้งดเว้นการนำงบประมาณ ตามข้อ 1.2.3 และข้อ 1.2.4 มาถัวเฉลี่ยจ่าย (เพิ่มเติม)
แนวปฏิบัติคณะฯ เรื่อง  "การแจ้งหักค่าธรรมเนียมบริการวิชาการในทุกงวดของโครงการ" ตามหนังสือที่ มอ. 208.1/025 ลงวันที่ 20 มกราคม 2552
      2.การบริหารโครงการ (โครงการที่ไม่มีการลงนามในสัญญาจ้าง)  
      1. ก่อนนำเสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติโครงการ  จะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากฝ่ายการเงินและฝ่ายที่รับผิดชอบดูแลด้านบริการวิชาการของหน่วยงาน  ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง (เพิ่มเติม) แนวปฏิบัติการบริหารโครงการ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2551  มีการเพิ่มเติมในส่วนของการบริหารโครงการที่ไม่มีการลงนามในสัญญาจ้างที่ชัดเจนขึ้น โดยการขออนุมัติโครงการจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากฝ่ายที่รับผิดชอบดูแลด้านบริการวิชาการของหน่วยงาน ก่อนทุกครั้ง
      2. การให้บริการวิชาการตามระเบียบฯ ข้อ 6 (1)  การวิเคราะห์  ทดสอบ  ตรวจสอบและตรวจซ่อม การให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ  ไม่ต้องเสนอขออนุมัติต่อมหาวิทยาลัย  หัวหน้าหน่วยงานสามารถอนุมัติดำเนินการได้เอง  โดยให้ฝ่ายการเงินและฝ่ายที่รับผิดชอบดูแลด้านบริการวิชาการของหน่วย งานเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง (เพิ่มเติม)
การประมาณการค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2551 ตามข้อ 9.1
      3.  การประมาณการค่าใช้จ่าย  ให้ประมาณการค่าใช้จ่ายตามระเบียบฯ ข้อ 9 ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณค่าใช้จ่าย กรณีรายรับมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพิ่ม ขึ้นหรือลดลงตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป หน่วยงานจะต้องเสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายต่อมหาวิทยาลัยก่อนเสนอขออนุมัติเบิกจ่าย
5. เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ภายใน 30 วัน หน่วยงานจะต้องดำเนินการเบิกจ่ายและจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอัตราตามประกาศมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบตามข้อ 1 และจัดส่งไปยังกองคลัง
    รายได้จากการดำเนินการโครงการที่เหลือจ่ายให้ถือเป็นรายได้ของหน่วยงานบริหารโครงการ  
 
2. การส่งรายงานและแจ้งการขอเบิกเงินค่าจ้าง 2.1 การส่งรายงานความก้าวหน้า คณะ/หน่วยงานบริหารโครงการ อาจส่งรายงานความก้าวหน้าไปยังผู้ว่าจ้างได้โดยตรง โดยจะต้องส่งสำเนาหนังสือนำส่งและรายงานความก้าวหน้า 1 ฉบับ ไปยังกอบบริการการศึกษา วิทยาเขตหาดใหญ่เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามและประสานงาน   2.1 การส่งรายงานความก้าวหน้า หน่วยงานบริหารโครงการสามารถส่งรายงานความก้าวหน้าไปยังผู้ว่าจ้างได้โดยตรง ทั้งนี้จะต้องส่งสำเนาหนังสือนำส่งและรายงานความก้าวหน้า 1 ชุด ไปยังหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบด้านบริการวิชาการของแต่ละวิทยาเขต เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามและประสานงาน มีเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดส่งเอกสาร เดิมให้จัดส่งให้กองบริการการศึกษา โดยเปลี่ยนแปลงให้ส่งไปยังหน่วยงานกลางที่ที่รับผิดชอบของแต่ละวิทยาเขตของหน่วยงาน
  2.2 การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ ให้คณะ/หน่วยงานบริหารโครงการ เสนอเรื่องไปยังมหาวิทยาลัย เพื่อมหาวิทยาลัยจัดส่งให้ผู้ว่าจ้าง   2.2 การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ ให้หน่วยงานบริหารโครงการเสนอเรื่องไปยังมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงนามหนังสือนำส่งรายงานให้ผู้ว่าจ้างเท่านั้น ทั้งนี้รายงานฉบับสมบูรณ์จะต้องจัดส่งให้มหาวิทยาลัยจัดเก็บด้วย  1 ชุด ให้จัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้มหาวิทยาลัยจัดเก็บ 1 ชุดด้วย
  2.3 การแจ้งการขอเบิกค่าจ้าง มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้แจ้งการขอเบิกเงินค่าจ้างในแต่ละงวดไปยังผู้ว่าจ้าง โดยอาจแจ้งไปพร้อมกับการส่งรายงาน หรือแจ้งหลังจากทราบผลการตรวจรับงานแล้ว กรณีที่ต้องการแจ้งพร้อมกานส่งรายงความหน้า คณะ/หน่วยงานบริหารโคงการจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อส่งให้ผู้ว่าจ้าง 3. การเรียกเก็บเงินค่าจ้าง มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้แจ้งการขอเรียกเก็บเงินค่าจ้างในแต่ละงวดไปยังผู้ว่าจ้าง โดยอาจแจ้งไปพร้อมกับการส่งรายงานหรือแจ้งหลังจากทราบผลการตรวจรับงานแล้ว กรณีต้องการแจ้งพร้อมการส่งรายงานความก้าวหน้า  หน่วยงานบริหารโครงการจะต้องแนบรายงานความก้าวหน้าไปยังมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ชุด 
ไม่มี
3.การรับค่าจ้างและการยืมเงินทดรองจ่าย 3.1 ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างต่อมหาวิทยาลัย โดยระบุเช็คสั่งจ่าย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในการรับเช็คจากผู้ว่าจ้าง หากประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปรับเช็คแทน ก็ขอให้แจ้งกองบริการการศึกษา วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อดำเนินการในการมอบอำนาจเป็นการด่วน 4. การรับค่าจ้าง  การยืมเงินทดรองจ่ายและการเบิกจ่ายเงิน 4.1 ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างต่อมหาวิทยาลัย    โดยระบุเช็คสั่งจ่ายในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เท่านั้น และในการรับเช็คจากผู้ว่าจ้างหากประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปรับเช็คแทน  ให้หน่วยงานบริหารโครงการแจ้งไปยังหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบด้านบริการวิชาการของแต่ละวิทยาเขต  เพื่อดำเนินการในการมอบอำนาจ
ไม่มี
  3.2 มหาวิทยาลัยจะบริหารงบประมาณประเภทนี้ในลักษณะเงินรับฝาก การขอเบิกเงินหลังมหาวิทยาลัยเรียกเก็บจากเช็คได้แล้ว ให้โครงการเสนอเรื่องขออนุมัติต่อคณบดี/ผู้ดำเนินการของคณะ/หน่วยงาน หลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้คณะ/หน่วยงานเสนอต่อกองคลัง การเบิกเงินรับฝากกองคลังจะจ่ายให้เฉพาะส่วนที่เกินจากเงินยืมทดรองจ่ายตามข้อ 3.3 (ถ้ามี) เท่านั้น   ไม่มี ไม่มี
  3.3 ในกรณีที่โครงการจำเป็นหรือประสงค์จะยืมเงินทดรองจ่ายจากมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการในระหว่างที่ยังไม่ได้รับเงินงวดจากผู้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยจะคิดดอกเบี้ยเงินยืม ตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในวันที่รับเงินยืมและจะคิดดอกเบี้ยเงินยืมไปจนถึงวันที่มหาวิทยาลัยได้รับเช็คจากผู้ว่าจ้าง หากเช็คที่ได้รับมีจำนวนน้อยกว่าเงินยืม ก็จะคิดดอกเบี้ยเฉพาะเงินยืมที่เป็นส่วนต่าง    4.2 ในกรณีที่โครงการจำเป็นหรือประสงค์จะยืมเงินทดรองจ่ายจากมหาวิทยาลัย  เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการในระหว่างที่ยังไม่ได้รับเงินงวดจากผู้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยจะคิดดอกเบี้ยเงินยืมตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารในวันที่รับเงินยืม และจะคิดดอกเบี้ยเงินยืมไปจนถึงวันที่ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คได้
4.3 ในการยืมเงินทดรองจ่ายแต่ละงวดมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ยืมเงินค่าธรรมเนียมบริการ
4.4  มหาวิทยาลัยจะหักค่าธรรมเนียมบริการในแต่ละงวดที่ได้รับเงินค่าจ้าง
4.5  การเบิกจ่ายเงินจากมหาวิทยาลัยในแต่ละงวด  มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้เบิกจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ
 ในการยืมเงินทดรองจ่ายแต่ละงวดมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ยืมเงินค่าธรรมเนียมบริการ และการเบิกจ่ายเงินจากมหาวิทยาลัยในแต่ละงวด  มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้เบิกจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ
4. ผู้มีอำนาจสั่งการตามระเบียบฯ ว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2536 และการปฏิบัติอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ  ผู้มีอำนาจสั่งการตามระเบียบฯ ว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2536 และการปฏิบัติอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ อธิการบดีและรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ โดยการดำเนินเรื่องในระยะนี้จะต้องผ่านกองบริการการศึกษาและกองคลังวิทยาเขตหาดใหญ่ เท่านั้น   ไม่ระบุไว้ในแนวปฏิบัติ แต่ระบุมอบอำนาจในคำสั่งมหาวิทยาลัยฯ ที่ 2545/2551 ลว. 24 ธ.ค.2551  เรื่อง มอบตามระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้บริการวิชาการ ให้รองอธิการบดีฝ่ายต่างๆ 
 
3. การปิดโครงการ (เพิ่มเติม) 3. การปิดโครงการ  
  ให้คณะ/หน่วยงานบริหารโครงการ เสนอขออนุมัติปิดโครงการภายใน 3 เดือน หลังจากที่ได้รับเงินงวดสุดท้ายจากผู้ว่าจ้าง โดยในการเสนอขออนุมัติปิดโครงการให้ระบุการจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการวิชาการให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามระเบียบฯ และให้เสนอขออนุมัติผ่านกองคลังและสำเนาแจ้งกองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ทราบด้วย      
ให้หน่วยงานบริหารโครงการเสนอขออนุมัติปิดโครงการภายใน 60 วัน หลังจากที่ได้รับเงินงวดสุดท้ายจากผู้ว่าจ้าง โดยให้แจงรายการจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ในอัตราตามประกาศมหาวิทยาลัย 
มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนวันที่ให้ขออนุมัติปิดโครงการจากเดิม 90 วัน เป็น 60 วัน หลังจากที่ได้รับเงินงวดสุดท้ายจากผู้ว่าจ้าง
4. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับบริหารโครงการและค่าใช้จ่ายโครงการบริการวิชาการ(เพิ่มเติม)  4. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับบริหารโครงการและค่าใช้จ่ายโครงการบริการวิชาการ(เพิ่มเติม)   
ลักษณะการจัดอบรม/ประชุม/สัมมนา ที่ได้รับการว่าจ้าง ที่เก็บค่าลงทะเบียน หรือที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน/องค์กรภายนอก 1. ค่าตอบแทนวิทยากร
   1.1 วิทยากรที่สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
        1.1.1 เป็นวิทยากรในการจัดอบรม ณ สถานที่ในจังหวัดที่ตั้งวิทยาเขต/เขตการศึกษาที่วิทยากรสังกัด หรือปฏิบัติงานปกติ ให้จ่ายค่าตอบแทนในอัคราชั่วโมงละไม่เกิน 600 บาท
        1.1.2 เป็นวิทยากรในการจัดอบรม ณ สถานที่นอกจังหวัดที่ตั้งวิทยาเขต/เขตการศึกษา ที่วิทยากรสังกัดหรือปฏิบัติงานปกติ ให้จ่ายค่าตอบแทนในอัตราชั่วโมงละไม่เกิน 900 บาท
   1.2 วิทยากรภายนอก ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้จ่ายค่าตอบแทนในอัตราชั่วโมงละไม่เกิน 900 บาท
   1.3 วิทยากรภายนอกที่เป็นเอกชน ให้จ่ายค่าตอบแทนในอัตรา ชั่วโมงละไม่เกิน 1,200 บาท
  ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดนี้ ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นประกอบการพิจารณาด้วย
  4. อัตราค่าตอบแทนวิทยากร
   อัตราค่าตอบแทนวิทยากรโครงการบริการวิชาการ ในลักษณะการจัดอบรม ประชุม  สัมมนาที่ได้รับการว่าจ้าง  ที่เก็บค่าลงทะเบียน  หรือที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก  ดังนี้
     4.1 ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน          1,000  บาท
     4.2 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ  หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
   อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน          1,000  บาท
    4.3 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอกที่เป็นเอกชน 
     อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน          1,500  บาท
มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนวิทยากรโครงการบริการวิชาการ ในลักษณะการจัดอบรม ประชุม  สัมมนาที่ได้รับการว่าจ้าง  ที่เก็บค่าลงทะเบียน  หรือที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้
     4.1 ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน  1,000  บาท จากเดิม ไม่เกิน 600 บาท กรณีสถานที่จัดในจังหวัด/วิทยาเขตที่วิทยากรสังกัด และไม่เกิน 900 บาท กรณีนอกสถานที่ที่วิทยากรสังกัด
4.2 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
 อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน  1,000  บาท จากเดิม 900 บาท
4.3 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอกที่เป็นเอกชน 
 อัตราค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน  1,500  บาท จากเดิม 1,200 บาท
   
  2. การเสนอขออนุมัติประมาณการค่าใช้จ่าย
   กรณีที่ตั้งสำรองจ่ายและค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ ไม่เป็นไปตามระเบียบบริการวิชาการฯ ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณา
  2. การเบิกจ่ายเงินลักษณะอุดหนุน 
   การเบิกจ่ายเงินลักษณะอุดหนุน  คณะ/หน่วยงาน สามารถดำเนินการได้เฉพาะโครงการที่มีสัญญาจ้างและโครงการที่ไม่มีสัญญาจ้างเฉพาะดำเนินการเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น  และให้ถือปฏิบัติดังนี้
  2.1 ค่าใช้จ่ายสามารถจ่ายเป็นลักษณะเหมาจ่ายได้
  2.2 หลักฐานการใช้จ่ายเงินจัดเก็บไว้ที่หัวหน้าโครงการเพื่อสำหรับการตรวจสอบ
  2.3 กรณีมีการเดินทางไปราชการผู้เดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ (จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานก่อนเดินทางทุกครั้ง)
   2.4 โครงการไม่สามารถจัดซื้อครุภัณฑ์ได้   หากไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา
3. การตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการ  
   การตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการที่มีสัญญาจ้าง (ที่ไม่ขอเบิกจ่ายเงิน
 เป็นลักษณะอุดหนุน)  และโครงการที่ไม่มีสัญญาจ้าง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวง การคลังหรือระเบียบและแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัย    
การขออนุมัติเบิกจ่ายเงินในลักษณะอุดหนุน สามารถดำเนินการได้เฉพาะโครงการที่มีสัญญาจ้างและโครงการที่ไม่มีสัญญาจ้างเฉพาะดำเนินการเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น และให้ถือปฏิบัติดังนี้
  2.1 ค่าใช้จ่ายสามารถจ่ายเป็นลักษณะเหมาจ่ายได้
  2.2 หลักฐานการใช้จ่ายเงินจัดเก็บไว้ที่หัวหน้าโครงการเพื่อสำหรับการตรวจสอบ
  2.3 กรณีมีการเดินทางไปราชการผู้เดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ (จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานก่อนเดินทางทุกครั้ง)
   2.4 โครงการไม่สามารถจัดซื้อครุภัณฑ์ได้   หากไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา
   
  3. สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง หรือระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   1. การเบิกและนำเงินในส่วนของ  “ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ”    ไปใช้
  การเบิกและนำเงินในส่วนของ  “ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ“ ไปใช้  ให้คณะ/หน่วยงานถือปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นเงินรายได้ของคณะ/หน่วยงาน  อำนาจอนุมัติการใช้จ่ายและการบริหารจัดการเป็นอำนาจของคณบดี/หัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ  ตามที่อธิการบดีมอบอำนาจให้ 
    การเบิกและนำเงินในส่วนของ  “ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ“ ไปใช้  ให้คณะ/หน่วยงานถือปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นเงินรายได้ของคณะ/หน่วยงาน  อำนาจอนุมัติการใช้จ่ายและการบริหารจัดการเป็นอำนาจของคณบดี/หัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ  ตามที่อธิการบดีมอบอำนาจให้